The Lady อองซานซูจี ผู้หญิงท้าอำนาจ
การที่อังกฤษปกครองพม่านับร้อยปีโดยนำระบอบของอังกฤษจากอินเดียมาใช้ ดูหนังดราม่า โดยไม่คำนึงถึงลักษณะวัฒนธรรม วิถีชีวิตดั่งเดิมของพม่า หนังฟรี (โดยเฉพาะพวกอังกฤษใส่รองเท้าเข้าพื้นที่วัด) ทำให้ชาวพม่าไม่พอใจกับอังกฤษ ชาวพม่าต่อต้านอย่างรุนแรง เรียกร้องเอกราช การก่อตั้งขบวนการชาตินิยม ตะขิ่น (THAKIN) ขึ้นมา
คำว่า “ตะขิ่น” ดูหนังออนไลน์ แปลว่า นาย (Master) เป็นคำที่อังกฤษบังคับให้ชาวพม่าเรียกตนเองว่า นาย อันเป็นความรู้สึกขมขื่นจิตใจของนักศึกษาชาวพม่า ตะขิ่น เป็นขวนการของนักศึกษาของมหาวิทยาลัยร่างกุ้ง ดูหนังฟรี ที่ได้รับความรู้แบบตะวันตก โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องเสรีนิยมและสังคมนิยม ทำให้นักศึกษาเปรียบเทียบการปกครองของอังกฤษในเวลานั้น คนพม่าไม่ค่อยมีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง จึงมีการตั้งสโมสรนักศึกษา และตั้งกลุ่มตะขิ่นเพื่อเตือนความเจ็บช้ำที่อังกฤษบังคับตน ผู้ก่อตั้ง นำโดย อองซาน อูนุ และเนวิน จุดประสงค์คือเพื่อรณรงค์ให้อังกฤษแก้ไขการปกครองในพม่า แยกพม่าออกจากอินเดีย และให้ชาวพม่ามีส่วนร่วมในการปกครองตนเอง ไม่นานนัก กลุ่มตะขิ่นมีฐานอำนาจมากขึ้นจนสามารถเจรจาต่อรองกับรับบาลอังกฤษได้
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ญี่ปุ่นเข้ามาช่วยเหลือกลุ่มตะขิ่นเพื่อแยกตัวออกจากอังกฤษ แต่กลุ่มตะขิ่นนำโดยอองซาน หาเชื่อน้ำคำของญี่ปุ่น แยกตัวออกมาจัดตั้งองค์กรต่อต้านญี่ปุ่น Anti Fescist People’s Freedom League (AFPFL) โดยร่วมมือกับอังกฤษ เมื่อสิ้นสงคราม อังกฤษเข้ามาปกครองพม่าดังเดิม แต่ครั้งนี้อังกฤษยอมเจรจากับอองซาน ยอมให้ชาวพม่าเข้ามาปกครองทั่วไป พม่าเตรียมร่างรัฐธรรมนูญในปี ค.ศ. ๑๙๔๗ และมีการเลือกตั้งในปีเดียวกัน เจ้ากรรม ฝ่ายที่ชนะการเลือกตั้งคือพรรค AFPFL ที่นำโดยอองซานและรัฐมนตรี 8 คนถูกสังหาร
นี่คือจุดเริ่มต้นของการปกครองประเทศภายใต้รัฐบาลทหารที่ขึ้นชื่อว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนมาที่สุดในโลก
นี่คือจุดเริ่มต้นของภาพยนตร์อัตชีวประวัติ ออง ซาน ซูจี บุตสารของเนวิน
The Lady เป็นเรื่องราวของออง ซาน ซูจี (มิเชล โหยว) บุตรสารวีรบุรุษของชาติ ที่กลายเป็นเสาหลักในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยในพม่าต่อจากบิดา ในปี ๒๕๓๑ ซูจีต้องออกจากอ็อกฟอร์ดประเทศอังกฤษเพื่อไปเยี่ยมมารดาที่ป่วยหนักในพม่า การเดินทางกลับครั้งนี้ของเธอรู้ดีว่า นี่จะเป็นการเดินทางครั้งสุดท้ายและไม่ได้กลับมาอังกฤษอีก เธอโบกมือลาครอบครัว (สามี ลูกชายสองคน) ในรถแท็กซี่ที่ภายนอกฝนตก หยดน้ำฝนบดบังภาพครอบครัวของเธอลื่นลาง นี่คือฉากเด็ดฉากหนึ่งของเรื่อง
ซูจี เห็นภาพความรุ่นแรงโดยทหารที่ทำต่อประชาชนและนักศึกษาชาวพม่า เธอเข้าร่วมต่อสู้ทางการเมืองโดยการชักชวนจากนักวิชาการประวัติศาสตร์มหาวิทยาลัยร่างกุ่งอย่างกระอักกระอ่วนใจ เธอใช้หลักอหิงสาแบบคานธีสู้กับกับปืนของรัฐบาลทหาร เธอก่อตั้งพรรคสันนิบาติแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย เธอกลายเป็นนักการเมืองขวัญใจประชาชนในไม่ช้า แต่เธอต้องพบอุปสรรคมากมาย รัฐบาลทหารเริ่มหวั่นไหวและรู้ชะตากรรมของตนเองจึงทำทุกอย่างเพื่อยุติบทบาทของเธอและพรรค จนในที่สุดเธอถูกบังคับให้อยู่แต่ในบ้าน ไม่ได้พบหน้า ดร.ไมเคิล แอริส (เดวิด ธิวลิส) สามีและลูก ๆ ของเธอ
ตลอดระยะเวลาแห่งการขุมขังถึง ๑๕ ปี เธอมีเรี่ยวแรงและกำลังใจอยู่ได้อย่างไร ผู้หญิงตัวคนเดียวสู้เพื่อประเทศชาติและประชาชนได้อย่างไร ภาพยนต์เรื่องนี้มีคำตอบ
ภาพยนตร์เรื่องนี้ถูกจัดให้ออยู่ในหมวด ดราม่า (ชีวิต) แต่ผมขอจัดให้อยู่ในหมวดหนังรัก รักแบบโรแมนติกเสียด้วย
ความรักที่อัดแน่นที่อยู่ใน The Lady นั้นมีอยู่ ๒ ความรักคือ ความรักระหว่างครอบครัวคือ ดร.ไมเคิล แอริส กับ ออง ซาน ซูจี, ออง ซาน ซูจี กับ ลูก ๆ และความรักของออง ซาน ซูจีต่อแผ่นดินเกิด ออง ซาน มีเสรีที่จะเลือกให้เลือกระหว่าง ครอบครัวหรือแผ่นดิน เธอบอกว่านี่คือการบังคับต่างหาก แล้วเธอก็เลือก
The Lady แสดงให้เห็นว่า ซูจี ได้เรี่ยวแรงกำลังใจจากสามีของเธอเป็นอย่างมากในการต่อสู้กับรัฐบาลทหาร ในระหว่างที่เธอต่อสู้อยู่ในประเทศพม่า ดร.ไมเคิล แอริส สามีของเธอสู้เพื่อเธอโดยเรียกร้องรางวัลโนเบลอยู่ที่ประเทศอังกฤษ โดยหวังว่าหากซูจีได้รางวัล จะเป็นเกราะป้องกันกระสุนให้เธอได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ดร.ไมเคิล แอริส ยังวิ่งเต้นต่อสหรัฐอเมริกาเพื่อคว่ำบาตรพม่า และเรียกร้องให้องค์กรสหประชาชาติสนใจพม่ามากขึ้น ทั้งสองได้เจอกันน้อยมาก จนหลัง ๆ ทั้งสองถูกรัฐบาลเผด็จการทหารกีดกันไม่ให้พบกัน สุดท้าย ดร.ไมเคิล อริส เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง เขาและเธอก็ไม่มีสิทธิพบกัน นี่คือความรักแบบครอบครัวที่มีอยู่อย่างเต็มเปรี่ยมในเรื่อง ส่วนความรักที่เธอมีต่อแผ่นดินเกิดนั้นมีมากน้อยแค่ไหน ผมไม่ขอบรรยายในที่นี้ ทุกท่านคงทราบดี
อีกเรื่องหนึ่งที่จะขอพูดในที่นี้คือ ภาพความรุนแรง ความโหดเหี้ยมไร้จิตใจของทหารพม่า ที่ฆ่าคนเป็นผักปลา ฆ่าโดยไม่ต้องคิด ไม่กระพริบตา สายตาทหารทุกนายโหดเหี้ยมเหมือนไม่ใช่คน หนังสร้างภาพทหารราวกับซาตาน ต่างกับที่สร้างภาพซูจีราวกับนางฟ้า หากเข้าใจพื้นฐานของสหภาพพม่า ก็จะรู้ว่า สหภาพพม่าเต็มไปด้วยชนกลุ่มน้อยมากมายที่อยู่ตามหุบเขาและตะเข็บชายแดน แต่ละกลุ่มล้วนอยากปลดแอกตนเอง ทำทุกวิถีทางเพื่อต่อสู้กับรัฐบาลทหารพม่า รัฐบาลทหารและทหารต้องเข้มแข็ง โหดเหี้ยม ดุดัน มิฉะนั้นจะไม่สามารถควบคุมกลุ่มชนเหล่านี้ได้ หากท่านเข้าใจเรื่องนี้ ก็จะเข้าใจภาพความโหดร้ายของทหารในหนังได้
ฉากเด็ดในเรื่องเรียกอารมณ์ นอกจากที่กล่าวไปข้างต้นแล้ว ขอแนะนำคือ ฉากการขึ้นปราศรัยของซูจีที่มหาเจดีย์ชเวดากอง อาจทำให้ท่านขนลุก อาจทำให้ชาวพม่าฮึกเหิม แต่เสียดายที่หนังไม่ได้ฉายในพม่า ฉากซูจีเดินเข้าหาปืนหลายกระบอกที่เล็งเข้ามาหาเธอ ฉากที่สามีและลูก ๆ ของเธอรับรางวัลโนเบลแทนซูจี และฉากสุดท้ายของเรื่อง รับลองว่าเรียกน้ำตาท่านได้ไม่มากก็น้อย
ส่วนเรื่องการแสดง มิเชล โหยว แสดงได้ดีจนน่าชื่นชน บทออง ซาน ซูจี เหมาะสมกับ มิเชล โหยว อย่างยิ่ง เหมาะทั้งรูปลักษณ์ อากัปกิริยา การพูด ได้ยินว่า เธอท่องบทแต่ระบทหลายสิบรอบ โดยเฉพาะบทกล่าวสุนทรพจน์ที่เธอต้องพูดเป็นภาษาพม่าที่มีความยาวกว่า ๔ นาที เธอท่องเป็นร้อยรอบ สมควรได้รับรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมอย่างที่สุดในทุกรางวัล ส่วน เดวิด ธิวลิส ที่รับบท ดร.ไมเคิล อริส สามีซูจี เท่าที่ผมดูผลงานของธิวลิสมา ผมว่าเป็นการแสดงที่ดีที่สุดของเขา
The Lady มีการค้นคว้าขอมูลมากมาย ดูวีดีโอเทปกว่า ๒๐๐ ชั่วโมง มีการสัมพาทย์บุคคลใกล้ชิดหลายคน หลาย ๆ คนให้รูปภาพในเหตุการณ์ความไม่สงบจำนวนมาก ภาพยนตร์จึงออกมาสมจริง
ถึงอย่างไรก็แล้วแต่ นี้เป็นมุมมองของผู้ที่อยู่ฝ่ายซูจี ไม่มีมุมมองที่มาจากฝ่ายทหารมากนัก จึงไม่อาจชั่งน้ำหนักได้เท่าที่ควร แต่มันก็เป็นปกติของภาพยนต์อัตชีวประวัติ
The Lady โดยยอดผู้กำกับ Luc Besson จะไม่ทำให้ท่านผิดหวัง ผู้ที่ชื่นชอบภาพยนตร์แนวอัตชีวประวัติ ประวัติศาสตร์ไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง แต่ถ้าหากท่านไม่ใช้แฟนภาพยนตร์แนวนี้ ภาพยนตร์อาจทำให้ท่านเบื่ออาจเดินออกจากโรงก่อนฉายจบ อย่างที่รอบผมดูนั้นมีคนเดินออกก่อนหนังจบตั้งเกือบชั่วโมง
นี่คือหนังอัตชีวประวัติที่เต็มเปรี่ยมไปด้วยความรัก โดยที่ไม่มีคำว่ารักแม่แต่คำเดียว ปฏิเสธไม่ได้ว่า ‘ออง ซาน ซูจี’ คือสัญลักษณ์การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของเมียนมา หนังเรื่องนี้บอกเล่าช่วงชีวิตของออง ซาน ซูจี เมื่อผู้เป็นพ่ออย่างนายพล ออง ซาน ถูกทหารสังหารตั้งแต่เธออายุได้ 2 ขวบ เธอต้องใช้ชีวิตอยู่กับแม่ เติบโตและมีครอบครัวในต่างประเทศ กระทั่งวันที่เธอกลับมายังบ้านเกิดเมืองนอนจึงเลือกทิ้งชีวิตซึ่งเพียบพร้อมด้วยสามีและลูกๆ มาเป็นนักสู้เพื่อประชาธิปไตย แม้เธอจะถูกกักขังในบ้านพักรวมแล้วกว่า 21 ปี ท่ามกลางสภาวะกดดันและโดดเดี่ยว เธอกลับเสียสละตัวเองและต่อสู้ด้วยสันติอหิงสาจนได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรสตรี ซึ่งนอกจากจะได้เห็นความกล้าหาญของผู้หญิงที่เด็ดเดี่ยวทรงพลัง และความรักของสามีที่พร้อมเสี่ยงชีวิตปกป้องแม้ตัวต้องอยู่ห่าง หนังเรื่องนี้ยังชวนให้ขบคิดว่า “คุณมีอิสระที่จะเลือกนะ ระหว่างสามีและลูกๆ หรือประเทศชาติ” นั่นคือชีวิตที่เลือกได้จริงๆ หรือ
หนังที่เล่าเรื่องเมียนมาและถ่ายทำในไทยแต่ถูกสั่งห้ามฉายในทั้งสองประเทศ เป็นเรื่องราวที่ดัดแปลงจากนิยายชื่อเดียวกัน ซึ่งแต่งขึ้นจากโศกนาฏกรรมรักระหว่าง ‘อิงเง่ ซาเจนท์’ นักศึกษาสาวชาวออสเตรียซึ่งไปเรียนแลกเปลี่ยนที่โคโลราโด สหรัฐอเมริกา และพบรักกับหนุ่มนักศึกษาวิศวกรรมเหมืองแร่ชาวเมียนมา เธอไม่รู้มาก่อนว่าเขาคือ ‘เจ้าจาแสง’ เจ้าฟ้าของเมืองสีป้อแห่งรัฐฉาน ดินแดนปกครองตนเองของชาวไทใหญ่ที่ไม่ต้องการรวมชาติกับเมียนมา แต่อุปสรรคความรักไม่ใช่ความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม หรือฐานันดร หากเป็นความโหดเหี้ยมของรัฐบาลเผด็จการทหาร เมื่อนายพล เน วิน ยึดอำนาจรัฐบาลพลเรือน กระทำการสังหารเผ่าพันธุ์ที่ไม่ใช่เมียนมา เด็กและหญิงชาวบ้านในรัฐฉานถูกข่มขืนอย่างทารุณจากทหารเมียนมา เจ้าฟ้าจากรัฐต่างๆ ถูกจับไปคุมขังที่คุกอินเส่งในย่างกุ้ง ส่วนเจ้าจาแสง เจ้าฟ้าเมืองสีป้อ ถูกบังคับสาบสูญโดยที่ทุกวันนี้ก็ยังไม่มีใครรู้ความเป็นไป