King Naresuan 6 แม้นยุทธหัตถีจะเป็นมหาศึกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ แต่ก็หาใช่ศึกสุดท้ายที่ทำให้อโยธยามีความสุขสงบมาอีกกว่า 200 ปีไม่ หากคือการเริ่มต้นแห่งการรวบรวมบ้านเมืองและสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับแผ่นดิน สู่บทสรุปของอภิมหากาพย์ภาพยนตร์แอ็คชั่นอิงประวัติศาสตร์ จากตํานานกษัตริย์นักรบไทยอันเป็นที่รักของปวงชนชาวไทย กว่า 4 ศตวรรษ กับเรื่องราวในตํานานที่เกิดขึ้นหลังจากอภิมหาศึกคชยุทธ์ยุทธหัตถีจบลง บทสรุปของทุกตัวละครในตํานานที่เกิดขึ้น เกิดอะไรขึ้นกับพระเจ้านันทบุเรง หลังจากพระมหาอุปราชาทรงสวรรคต ชีวิตทหารไพร่พลพม่ารามัญที่พ่ายแพ้จากศึกในประวัติศาสตร์เมื่อเดินทางกลับสู่กรุงหงสา วิบากกรรมที่พระสุพรรณกัลยาทรงรับไว้ ชีวิตที่ดําเนินต่อไปของมณีจันทร์ที่ทรงตั้งพระครรภ์ การเดินทางมุ่งหน้ากลับสู่หงสาในการรบครั้งสุดท้ายตามพระประสงค์ของสมเด็จพระนเรศวร ดูหนัง
ในปี พ.ศ. 2135 หลังพ่าย “ศึกยุทธหัตถี” ฝ่ายหงสาวดี “พระเจ้านันทบุเรง” (จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์) ทรงโทมนัสที่ต้องสูญเสียพระราชโอรส จึงมีรับสั่งให้คลอกไฟเหล่าแม่ทัพนายกองที่ตามเสด็จ “พระมหาอุปราช” (นภัสกร มิตรเอม) ให้ตายตกตามกัน ทั้งยังระบายพระโทสะไปที่ “พระสุพรรณกัลยา” (เกรซ มหาดำรงค์กุล) องค์ประกันและพระราชโอรสธิดาถึงสิ้นพระชนม์ชีพ
ข้าง “สมเด็จพระนเรศวร” (พันโท วันชนะ สวัสดี) นั้น มีพระราชประสงค์จะนำทัพปราบหงสาวดีให้ราบคาบมิให้ตกค้างเป็นเสี้ยนหนาม ครั้นมาได้ทราบข่าวการสิ้นพระชนม์ของพระพี่นางและพระราชนัดดาก็ยิ่งโทมนัส จึงตัดสินพระทัยยกทัพใหญ่ หมายเหยียบหงสาวดีให้ราบเป็นหน้ากลอง
ในระหว่างที่เดินทางมาถึงเมืองเมาะตะมะได้จับตัว “พระยาลอ” ผู้สำเร็จราชการแทน ที่ “พระเจ้านันทบุเรง” ส่งให้มาปกครองเมือง ถูก “เม้ยมะนิก” (เต็มฟ้า กฤษณายุธ) ราชธิดาของ “ศิริสุธรรมราชา” เจ้าเมืองเมาะตะมะลอบสังหารเพื่อแก้แค้นแทนบิดา พร้อมรวบรวมชาวรามัญเพื่ออาสาขอเข้าร่วมรบพม่ากับชาวอโยยา
แต่ครั้นเมื่อทัพของพระองค์เสด็จถึงหงสาวดีก็พบแต่เพียงเศษซากของมหานครอันเคยยิ่งใหญ่ ด้วย “นัดจินหน่อง” (นาวาอากาศโทจงเจต วัชรานันท์) ราชบุตรพระเจ้าตองอูได้วางอุบายเชิญพระเจ้านันทบุเรงพร้อมกวาดต้อนผู้คนแลทรัพย์ศฤงคารของหงสาไปไว้ยังตองอูจนหมดสิ้น หนังฟรี
ครั้งนั้นสมเด็จพระนเรศวรจึงทรงยกทัพตามขึ้นไปถึงเมืองตองอู มีพระราชบัญชาให้ “เมงเยสีหตู” (นิรุตติ์ ศิริจรรยา) เจ้าเมืองส่งตัวพระเจ้านันทบุเรงออกมาถวาย ด้านนัดจินหน่องเห็นว่าพระเจ้านันทบุเรงที่เชิญมานั้นเป็นภัยชักศึกเข้าบ้านจึงหมายยืมมือสมเด็จพระนเรศวรสังหารพระเจ้านันทบุเรงเสีย แต่เมื่อสมเด็จพระนเรศวรได้ทอดพระเนตรเห็นพระเจ้านันทบุเรงที่ทรงทุพพลภาพเป็นที่น่าสมเพชก็ให้สลดพระราชหฤทัย ระหว่างนั้น “เมงราชาญี” (รณ ฤทธิชัย)
เจ้าเมืองยะไข่ได้แต่งทัพเป็นกองโจรตีลัดตัดเสบียงอยุธยามิให้ส่งข้าวน้ำขึ้นไปเลี้ยงทัพที่ล้อมพระนครตองอูอยู่ “สมเด็จพระเอกาทศรถ” (พันเอก วินธัย สุวารี) จึงแบ่งทัพลงมาหมายจะเผด็จศึกยะไข่มิให้เป็นหอกข้างเเคร่ แต่ทรงพลาดท่าถูกเมงราชาญีจับตัวได้ พระราชมนูจำต้องขันอาสานำกำลังลงมาแก้เอาสมเด็จพระเอกาทศรถกลับคืน และยกทัพกลับยังอยุธยา
ข้างฝ่ายพุกามประเทศนั้นได้บังเกิดกษัตริย์ชาตินักรบขึ้นมาแทนพระเจ้าชนะสิบทิศมีพระนามว่า “พระเจ้ายองยาน” ตามชื่อพระนครที่ปกครอง พระเจ้ายองยานทรงขยายแสนยานุภาพครอบคลุมดินแดนพม่าตอนบน เข้ายึดครองหัวเมืองในรัฐไทยใหญ่ทั้งหลาย และทรงกรีฑาทัพเข้าตีเมืองยองห้วยและเมืองแสนหวีซึ่งขณะนั้นล้วนเป็นเมืองประเทศราชของอยุธยา เมื่อสมเด็จพระนเรศวรทรงล่วงรู้ก็ทรงมีพระราชดำริที่จะตัดไฟเสียแต่ต้นลมไม่ให้อธิราชศัตรูพลิกฟื้นขึ้นมาเป็นเสี้ยนหนามแผ่นดินอยุธยาได้อีก
สมเด็จพระนเรศวรจึงได้เสด็จยกกองทัพไปตีอังวะ ครั้งนั้น “พระมหาเถรคันฉ่อง” (สรพงษ์ ชาตรี) และ “พระอัครมเหสีมณีจันทร์” (ทักษอร ภักดิ์สุขเจริญ) ซึ่งกำลังทรงพระครรภ์ก็ทูลขอให้งดซึ่งราชการสงคราม สมเด็จพระนเรศวรจึงทรงให้สัญญาว่าจะเสด็จไปทำศึกครานี้เป็นครั้งสุดท้าย
เมื่อเสด็จถึงเมืองเชียงใหม่ก็ยั้งทัพจัดกระบวนอยู่หนึ่งเดือน แล้วให้ทัพสมเด็จพระเอกาทศรถยกขึ้นไปทางเมืองฝาง ส่วนกองทัพหลวงยกไปทางเมืองหางตั้งค่ายหลวงประทับอยู่ที่ทุ่งแก้ว อยู่มาสมเด็จพระนเรศวรทรงพระประชวรจึงโปรดให้ข้าหลวงรีบเชิญเสด็จพระเอกาทศรถมาเฝ้า ครั้นมาถึงได้ 3 วัน สมเด็จพระนเรศวรก็เสด็จสวรรคตเมื่อวันจันทร์ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเส็ง ตรงกับวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2148 สมเด็จพระเอกาทศรถจึงได้อัญเชิญพระบรมศพสมเด็จพระนเรศวรกลับกรุงศรีอยุธยาราชธานี หนังใหม่
แม้นยุทธหัตถีจะเป็นมหาศึกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ แต่ก็หาใช่ศึกสุดท้ายที่ทำให้อโยธยามีความสุขสงบมาอีกกว่า 200 ปีไม่ หากคือการเริ่มต้นแห่งการรวบรวมบ้านเมืองและสร้างความเป็นปึกแผ่นให้กับแผ่นดิน สู่บทสรุปของอภิมหากาพย์ภาพยนตร์แอ็คชั่นอิงประวัติศาสตร์ จากตํานานกษัตริย์นักรบไทยอันเป็นที่รักของปวงชนชาวไทย กว่า 4 ศตวรรษ กับเรื่องราวในตํานานที่เกิดขึ้นหลังจากอภิมหาศึกคชยุทธ์ยุทธหัตถีจบลง บทสรุปของทุกตัวละครในตํานานที่เกิดขึ้น เกิดอะไรขึ้นกับพระเจ้านันทบุเรง หลังจากพระมหาอุปราชาทรงสวรรคต ชีวิตทหารไพร่พลพม่ารามัญที่พ่ายแพ้จากศึกในประวัติศาสตร์เมื่อเดินทางกลับสู่กรุงหงสา วิบากกรรมที่พระสุพรรณกัลยาทรงรับไว้ ชีวิตที่ดําเนินต่อไปของมณีจันทร์ที่ทรงตั้งพระครรภ์ การเดินทางมุ่งหน้ากลับสู่หงสาในการรบครั้งสุดท้ายตามพระประสงค์ของสมเด็จพระนเรศวร
ภาคนี้ก็เหมือนกับการกลับมาแก้มือของ มจ. ในความคิดผมนะครับ เพราะภาคที่แล้วทำออกมาได้ไม่ค่อยดี ก็เปิดเรื่องก็ตาม style ต้องเล่าเรื่อง ย่ออดีตก่อน (เพราะแต่ล่ะเว้นนานเหลือเกิน) ก็โอเคสามารถถึงความทรงจำกลับมาได้ ก็ดำเนินเรื่องค่อนข้างเร็ว ผมคิดว่าเพราะตัดออกไปเยอะ ไม่ได้ดูรอบที่ทำ CG และตัดต่อเพิ่ม (120 นาที) ก็ไปเรื่อยๆ เร็วๆ ก็โอเค CG ดีขึ้นบ้างแต่ยังไม่ถือว่าดี แต่พอรับได้
บทส่วนใหญ่ก็พอได้อยู่ มีแค่บางฉากที่ดูแล้วคิดแล้วแปลกๆ เหมือนไม่มีเหตูผล เช่น ฉากที่จะเข้าไปรอบฆ่าพระเจ้านันทบุเรง แต่เข้ากันง้ายง่าย และยังเข้าไปแค่ 3 คน ถ้าถูกจับ ก็จบเลย ฝั่งพม่า ก็อาจจะเรียกว่าชนะเลยก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ผมก็ไม่ค่อยรู้ประวัติศาสตร์ในเรื่องนี้ละเอียดเท่าไหร่ขอข้ามไปแล้วกัน
โดยรวมก็โอเค กลางๆ พอได้ ไม่เสียดายเงิน แต่ ไม่ค่อยเข้าใจ ทำไมไม่ปล่อย V 120 นาทีออกมาเลยดูสรุปก็คือไม่เสียตัง แต่ก็ไม่ได้ดีมากไม่แย่มาก ก็กลับมาแก้ต่างจากภาคที่แล้ว พอได้บ้าง
8 ปีเต็ม ของการเดินทางนับตั้งแต่ ‘ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค 1 องค์ประกันหงสา’ เข้าโรงฉายให้คนไทยไพร่ฟ้าได้ยลยินให้ประจักษ์แก่ความยิ่งใหญ่ของกษัตริย์ไทยซึ่งปลุกกระแสความรักชาติได้อย่างท่วมท้น ถามใครก็รู้จักและพูดถึงไม่ว่าจะเป็นลูกเด็กเล็กแดงอาม่าอากง และเห็นได้จากรายได้แต่ละภาคที่เฉลี่ยแล้วมากกว่า 200 ล้านบาท แต่เมื่อต้องแบ่งค่าตั๋วกับโรงหนังตามวิถีก็ทำให้พอหักลบกลบทุนแล้วรายได้แล้วก็ยังไม่คุ้มทุนสร้างที่ทุ่มเงินไปมากกว่างบบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถานวัดวาอารามในแต่ละปีเสียอีก แต่ด้วยสปิริตอันแรงกล้าทำให้ ‘ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช’ ดั้นด้นมาถึงภาค 6 ซึ่งเป็นภาคปิดฉากสุดท้ายนี้ หลังจากที่ ภาค 5 เคยเป็นภาคสุดท้ายมาแล้วก่อนหน้านั้น ดูหนังฟรี
หนังเปิดฉากด้วยภาพย้อนอดีตเมื่อครั้งทำศึกยุทธหัตถีในภาคที่แล้ว ซึ่งพระมหาอุปราชา (นภัสกร มิตรเอม) พ่ายยุทธหัตถีต่อพระนเรศวร (พ.ท.วันชนะ สวัสดี) เป็นผลพวงให้พระเจ้านันทบุเรง (จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์) โกรธกริ้วและพาลลั่นลงโทษประหารทัพทหารที่เหลือรอดกลับมาทั้งโคตรทำให้เสียกำลังทัพและไพร่พล รวมถึงได้ปลิดชีพพระสุพรรณกัลยา (เกรซ มหาดำรงค์กุล) ซึ่งเป็นองค์ประกัน ทำให้พระนเรศวรยืนกรานยกทัพไปกำราบพระเจ้านันทบุเรงถึงเมืองตองอู และแล้วก็กลายเป็นจุดเริ่มต้นให้ต่างฝ่ายต่างแพ้ภัยของกันและกันเอง
ถึงแม้โดยรวมแล้วหนังออกจะประดักประเดิดถึงขั้นล้มเหลวเมื่อเทียบกับงานกำกับในภาคอื่นๆ ก่อนหน้านี้ของท่านมุ้ย เมื่อมองความสมบูรณ์ด้านการเล่าเรื่องทั้งตัวบทและการกำกับมันเลวร้ายยิ่งกว่าตอน ‘ยุทธหัตถี’ ภาคก่อนหน้าที่ผู้ชมไม่น้อยบ่นกันว่าเป็นหนังที่ไม่สมศักดิ์ศรีกับการเป็นภาคปิดฉากบทสรุปมหากาพย์อันยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นหนึ่งในผลพวงที่ทำให้ประกาศเกิดภาคนี้ต่อมา หนังเริ่มโอนเอนตั้งแต่คลอดไตเติ้ลต้นเรื่องที่เล่าย้อนถึงภาคก่อนหน้าที่ทั้งจังหวะการตัดต่อ สกอร์ดนตรีประกอบ และกราฟฟิกตัวหนังสือต่างขัดแข้งขัดขากันและกันให้ล้มครืนไปพร้อมกับร่างของพระมหาอุปราชาที่พ่ายยุทธหัตถี
ต่อด้วยการเล่าเรื่องอย่างรวดเร็วว่องไวแต่กลับไม่รู้สึกถึงความกระชับและไหลลื่น รายละเอียดหลายอย่างถูกทิ้งขว้างให้เหลือเพียงเส้นเรื่องที่ปล่อยให้ตัวละครพามุ่งตรงไปเผชิญ ตัวละครและสถานการณ์ที่ดูมีมิติชั้นเชิงก็กลายเป็นเรียบแบนไร้อารมณ์ การถ่ายภาพบางช็อตบางตอนที่ผิดเพี้ยนไป เทคนิคแต่งหน้าพระเจ้านันทบุเรงที่กำกึ่งว่าน้ำเหลืองไหลหรือสีไม่แห้ง และเทคนิคภาพพิเศษเช่นฉากธงทัพสะบัดไกวแต่ใบไม้ด้านหลังมิไหวติงที่ดูตัดแปะยิ่งกว่าภาคไหนๆ โดยเฉพาะฉากประดาบแรกพบระหว่างพระเอกาทศรส (พ.อ.วินธัย สุวารี) กับ เม้ยมะนิก (เต็มฟ้า กฤษณายุธ) ที่ฉากแอคชั่นเห่ยๆ เก้ๆ กังๆ ช่างเลวร้ายพอดิบพอดีกับฉากหลังพระพุทธรูปที่พิกเซลระเอียดยับเสียเหลือเกิน
แต่ถึงอย่างนั้นในทุกๆ ส่วนที่กล่าวมานี้ยังมีความน่าสนใจซ่อนให้เห็นอยู่ ส่วนหนึ่งกลายเป็นความบันเทิงที่มาจากฉากสงครามฉากแอคชั่นที่ด้อยเปลี้ยยิ่งกว่าทุกภาคที่ผ่านมาแต่ประดักประเดิดจนขบขันได้ใจจริงๆ และส่วนตัวเพิ่งพบความบันเทิงจากตัวละครทั้งหลายทั้งที่ภาคก่อนหน้าก็มีส่วนประกอบเหล่านี้อยู่แต่ส่วนตัวเพิ่งสัมผัสได้ในภาคนี้ 1. ชื่อตัวละครที่นอกจากจะแปลกหูและยาวเหยียดแล้ว มันยังฟังดูไพเราะทุกครั้งที่ได้ยินชื่อตัวละครมากมายหลายชื่อ หนำซ้ำหลายตัวละครยังมีชื่อเรียกในแต่ละถิ่นที่ไม่เหมือนกัน
สัมผัสได้ทั้งความงุนงงและลุ่มรวยทางภาษาชาติอาเซียนเพื่อนบ้านไปในเวลาเดียวกัน 2. ลักษณะตัวละครฝ่ายร้ายที่เหมือนถอดแบบออกมาจากละครเย็นทางโทรทัศน์ เช่น เมงเกสอ (รัชนี ศิระเลิศ) กับ นัดจินหน่อง (น.ท.จงเจต วัชรานันท์) แม่ลูกแผนสูงกับยาพิษลอบฆ่า ยิ่งซูมขวดยาชัดๆ มันยิ่งใช่มากๆ รวมถึงฉากที่พระเจ้านันทะบุเรงเห็นภาพหลอน(วิญญาณ?)พระมหาอุปราชาผู้เป็นโอรสที่คัลท์เสียเหลือเกิน หลุดโลกทั้งการแสดงและการเล่าสภาวะจิตใจตัวละครแบบแฟนตาซีไซโค ในท่าทีที่ไม่ได้เห็นในหนังไทยเรื่องไหนมานาน นอกจากละครโทรทัศน์ 3. การแสดงที่ทำให้ตัวละครที่แลดูมีมิติ เล่นใหญ่จนไร้มิติแต่ยังคงให้มุมมองน่าสนใจ ซึ่ง รัชนี ศิระเลิศ, น.ท.จงเจต วัชรานันท์, นภัสกร มิตรเอม และ จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์ เข้าวินชิงชัยมาตามๆ กัน ดูหนังออนไลน์
แล้วก็ไม่รู้ว่าจะเสียใจหรือดีใจกับ ปีเตอร์ – นพชัย ชัยนาม (พระราชมนู) สรพงษ์ ชาตรี (มหาเถรคันฉ่อง) นิรุตติ์ ศิริจรรยา (เมงเยสีหตู) และ อาร์ต – อัสนี สุวรรณ ที่สุ้มเสียงยังดูเป็นคนในโลกเสมือนจริงผิดแปลกไปจากชาวอโยธยาและพม่ารามัญส่วนใหญ่ ส่วน แอฟ – ทักษอร เตชะณรงค์ (มณีจันทร์) ที่ถึงจะเปลี่ยนนามสกุลแล้วก็ยังสวยมาก และสุดท้ายนี้ยินดีกับ ผู้พันเบิร์ด ที่ถึงแม้จะไม่ได้ธรรมชาติสมบูรณ์แบบแต่ก็สามารถฝ่าด่านดราม่ายาวยืดร่วมกับนักแสดงทุกคนที่ปรากฏอยู่ในฉากจบผ่านมาได้ด้วยพัฒนาการแสดงที่กระเตื้องขึ้นในเฮือกสุดท้าย
ด้วยความที่ลวกเส้นยังไม่สุกดีทำให้ก๋วยเตี๋ยวชามนี้ไม่ได้อร่อยเป็นพิเศษตามสูตรเหมือนความยิ่งใหญ่และความเยอะแยะที่ภาคก่อนๆ หน้าดูจะเอาใจมวลชนได้มากกว่า ซึ่งพอได้อาศัยลูกเล่นเดียวกันซ้ำทางเดิมกันมาตลอดมันก็ทำให้ไม่มีอะไรที่ใหม่อีกแล้วนอกจากการออกแบบให้เห็นความโอ่อ่าทางภาพที่แม้จะทำสำเร็จมันก็ให้แค่ความหวือหวาตื่นตาตื่นใจ แต่กับภาคนี้พอมันลดความสำคัญของความยิ่งใหญ่ลงตามเรี่ยวแรงกำลังคนทำ กำลังทุน หรืออาจเกิดจากความตั้งใจก็แล้วแต่ มันกลับทำให้เกิดมิติประเด็นเรื่องราวและตัวละครที่เหลือปรากฏบนจอที่พอดีกับเนื้อเรื่อง ไม่ระเบิดระบายจนฟูมฟายเกินไป ความลุ่มๆ ดอนๆ มันกลายเป็นเครื่องมือขจัดส่วนซ้ำซากเดิมๆ และเกิดแง่งามให้เห็นชัดขึ้นจนสัมผัสตัวตนตัวละครได้โดยที่หนังไม่ต้องพยายาม เป็นมุมใหม่ที่น่าลิ้มลองสัมผัสดู
ในปี พ.ศ. 2135 หลังพ่ายศึกยุทธหัตถี พระเจ้านันทบุเรงระบายพระโทสะที่สูญเสียราชบุตร อุปราชแห่งหงสาโดยสังหารเหล่าแม่ทัพนายกองทั้งสิ้นทั้งปวง และเข้าไปปลงพระชนม์พระนางสุพรรณกัลยาและพระราชโอรสธิดา สมเด็จพระนเรศวรจึงนำทัพชัยหมายแก้แค้นแทนพระพี่นาง แม้จะได้รับคำทัดทานจากพระมหาเถรและพระมเหสีมณีจันทร์ ฝ่ายพระเจ้าตองอูปกครองโดยเมงเยสีหตูผู้เป็นน้องเขยพระเจ้านันทบุเรงคิดจะศิโรราบต่ออโยธยาแต่ถูกทัดทานโดยพระมหาเถรเสียมเพรียม ให้ริบตัวพระเจ้านันทบุเรงและยึดอำนาจปกครองแผ่นดินพม่าเสียเอง พระเจ้านันทบุเรงเมื่ออับจนหนทางไร้ญาติมิตรเข้าช่วยเหลือ ตะโดธรรมราชาเจ้าเมืองแปรและพระเจ้านยองยานก่อกบฎ นรธาเมงสอเจ้าเมืองเชียงใหม่เข้ากับอโยธยา จึงยอมให้นัดจินหน่องราชบุตรแห่งเจ้าเมืองตองอูพาพระองค์พร้อมกวาดต้อนทรัพย์สินและผู้คนจากหงสาไปไว้ยังตองอูจนหมดสิ้น ครั้นสมเด็จพระนเรศวรเสด็จถึงเมือง หงสาวดีก็กลายเป็นเมืองร้างไปเสียแล้ว
ศึกครั้งนี้สมเด็จพระนเรศวรจึงต้องยกทัพตามต่อตีไปยังตองอู เพื่อหมายสังหารพระเจ้านันทบุเรงให้จงได้ แต่ระหว่างตั้งทัพล้อมเมืองตองอูกองทัพอโยธยาก็ถูกกองทัพยะไข่นำโดยเมงราชาญีดักปล้นสะเบียงและได้จับตัวสมเด็จพระเอกาทศรถไป แต่พระยาชัยบุรีสามารถเข้าไปช่วยพระองค์ได้ เมื่อนัดจินหน่องโอรสในพระเจ้าตองอูเห็นว่าพระเจ้านันทบุเรงเป็นต้นเหตุชักศึกเข้าบ้านจึงอัญเชิญสมเด็จพระนเรศวรให้ลักลอบเข้ามาสังหารพระเจ้านันทบุเรงด้วยตนเองถึงห้องบรรทม แต่ด้วยสังขารของพระเจ้านันทบุเรงทรงเกิดการปลงละที่จะสังหารเสีย ยกทัพกลับอโยธยา ภายหลังพระเจ้านันทบุเรงถูกนัดจินหน่องกับพระนางเมงเกงสอมเหสีเจ้าเมืองตองอูและมารดาของนัดจินหน่องสมคบคิดวางยาพิษลงในเครื่องเสวยถึงแก่การสิ้นพระชนม์ ด้วยพระชนม์มายุ 64 พรรษา
การกลับมาอโยธยาครั้งนี้ทรงเกิดดวงตาเห็นธรรมหมายใจจะออกบรรพชาละทางโลกและสละราชสมบัติให้สมเด็จพระเอกาทศรถ แต่มีภารกิจไปตีเมืองอังวะกำจัดไม่ให้เป็นเสี้ยนหนามแก่ชาวอโยธยาสืบไป ก่อนออกศึกทรงสัญญากับพระนางมณีจันทร์เมื่อเสร็จศึกจะกลับมารับขวัญรวมทั้งโอรสในท้องด้วย
พ.ศ. 2148 ระหว่างนำทัพเข้าตีอังวะสมเด็จพระนเรศวรทรงประชวรและหยุดทัพที่เมืองฝาง ระหว่างนั้นเห็นภาพนิมิตรเป็นมณีจันทร์นึกเสียพระทัยที่ทรงไม่ยอมเชื่อเรื่องตีเมืองอังวะ อีกทั้งสั่งเสียถึงราชโอรสที่อาจมีราชภัยตามมาเนื่องจากการผลัดแผ่นดิน ต่อมาได้สั่งเสียสมเด็จพระเอกาทศรถให้สืบทอดเจตนารมณ์พระองค์ให้เข้าตีอังวะ แม้พระองค์จะสวรรคตแล้วแต่ก็ให้ผูกพระศพกับหลังช้างเข้าประตูเมืองอังวะให้จงได้ ไม่นานพระองค์ก็ถึงแก่สวรรคตด้วยพระชนม์มายุ 50 พรรษา